เลือกหน้า

โครงการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรและคณะผ่านระบบ CHE QA ONLINE ประจำปีการศึกษา 2561
วันที่18 มิถุนายน 2562 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
รับการประเมินจาก คณะกรรมการตรวจประเมินตนเอง ระดับหลักสูตรโดยรศ.ดร.สมชัย ศรีนอก เป็นประธาน ดร.เกื้อ กระแสโสม เป็นกรรมการ ดร.อรุโณทัย อุ่นไธสง กรรมการและเลขานุการ นางสาวศศิธร จันครา ผู้ช่วยเลขานุการ ทั้งนี้มีผู้ดูแล ดร.อัชราพร สุขทอง ดร.พีรวัส
อินทวี นางนุตสรา มิ่งมงคล และนางสาววิไลวรรณ งามฉลาด โดยผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามองค์ประกอบคุณภาพการศึกษา พบว่า
ผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (KPI) เพื่อติดตามการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) พบว่า หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีผลการดำเนินงานตามเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนด จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของตัวบ่งชี้ที่ต้องดำเนินการทั้งหมด (13 ตัวบ่งชี้) เมื่อพิจารณาเทียบเกณฑ์ที่ สกอ. กำหนด พบว่าหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีผลการดำเนินงาน ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานที่ สกอ. กำหนด และเมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรทั้ง 6 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ผลการประเมินหลักสูตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต ระดับ ดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.81)
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา ระดับ ดี (คะแนน3.67)
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ ระดับ ดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.15)
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน ระดับ ดี (คะแนนเฉลี่ย 4.00)
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ระดับ ปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 3.00)
ซึ่งจากผลการประเมินดังกล่าวจะเห็นว่า ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานขององค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน “ผ่าน” ดังนั้น คะแนนผลการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมของหลักสูตรนี้จึงเป็น 4.00 คะแนน อยู่ในระดับ ดี
จุดเด่นและแนวทางเสริม
1. อาจารย์สาขาภาษาไทยมีบทความวิชาการ และงานวิจัย มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง
2. อาจารย์สาขาภาษาไทย มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง
3. บัณฑิตมีงานทำตรงสาขาวิชาในอัตราที่สูง
4. นักศึกษามีสมรรถนะที่ดีทางด้านภาษาไทย
5. สาขาวิชามีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถนำไปพัฒนาตนเองและเป็นรูปธรรมได้
6. มีการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องและทันสมัย
โอกาสในการพัฒนา
1. อาจารย์ประจำหลักสูตรควรพัฒนาผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง
2. ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ความสำเร็จในการสู่สากลเพื่อสะท้อนชื่อเสียงหลักสูตร
3. ควรเพิ่มในการพัฒนาทักษะเฉพาะทางด้านภาษาไทยสู่ความเป็นเลิศ
4. ควรเพิ่มช่องทางการพัฒนาจากพี่สู่น้อง โดยมีระบบการกำกับติดตามจากอาจารย์ที่ปรึกษา
5. ควรมีการถ่ายทอดจากอาจารย์ที่มีประสบการณ์สู่อาจารย์ใหม่อย่างต่อเนื่อง
6. ควรมีการกำกับติดตามความก้าวหน้าตำแหน่งทางวิชาการ งานวิจัย และรายงานผลเป็นระยะ
7. ควรจัดห้องกระจกสำหรับฝึกประสบการณ์การสอน และทักษะการพูด
thThai