ข้อมูลเกี่ยวกับคณะ
ที่ตั้งของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
ตั้งอยู่ที่อาคาร 38 เลขที่ 186 หมู่ที่ 1
ถนนสุรินทร์ – ปราสาท ตำบลนอกเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000
โทรศัพท์ /โทรสาร 0 – 4451 -3369 โทรภายใน 0302
ประวัติความเป็นมา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นหน่วยงานราชการหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เดิมคือวิทยาลัยครูสุรินทร์ได้รับสถาปนา เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 ในสังกัดกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ 36 แห่ง เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 วิทยาลัยครูสุรินทร์จึงเปลี่ยนเป็นสถาบันราชภัฏสุรินทร์ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2538 และจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก หน้า 1 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2547
%
Corporate Rebranding
%
Website Redesign
Day Turnaround
Amazing Result
ปรัชญา
มาตรฐานวิชาการ สืบสานภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรม พัฒนานวัตกรรม คุณธรรมนำความรู้ สู่การเป็นพลเมืองที่ดี
วิสัยทัศน์
องค์กรความเป็นเลิศทางวิชาการ นักผสานเครือข่ายชุมชน วิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ความเป็นเลิศทางวิชาการ หมายถึง ความโดดเด่นทางวิชาการและหมายรวมถึงด้านศิลปวัฒนธรรม) ค่านิยมองค์กร คณะมีค่านิยมองค์กร เพื่อพัฒนาสู่เป้าหมาย คือ HUMAN for D H = Harmony & Happiness องค์กรแห่งความสุข U = Unity องค์กรที่เป็นเอกภาพ M = Management องค์กรที่มีการบริหารจัดการที่ดี A = Activeness & Achievement องค์กรที่ขยัน ตั้งใจ ทำงานเชิงรุก N = New Creation องค์กรแห่งการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ FOR = เพื่อ D = Development องค์กรเพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่ท้องถิ่น |
พันธกิจ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์มีพันธกิจหลัก 5 ด้าน ดังนี้
1. ผลิตบัณฑิตด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการ วิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม สู่สังคม
2. ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
3. การบริการวิชาการแก่สังคม และมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สืบสานภูมิปัญญา รักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น และสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมสู่สากล
5. พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
เอกลักษณ์
วิชาการเด่น เน้นภูมิปัญญา นำพานวัตกรรมสู่สังคม
อัตลักษณ์
มีคุณธรรม คิดเป็น ทำเป็น รู้กาลเทศะ จิตสาธารณะ มีทักษะการสื่อสาร งามด้วยกิริยาวาจา หนักเอาเบาสู้ พร้อมทำงาน(Ready to Work) เรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน (Community-based Learning)